ประวัติโรงเรียนสมศักดิ์วิทยา
โรงเรียนสมศักดิ์วิทยา ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17
พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ณ
บริเวณสามแยกบ้านเลือก
อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
(เลขที่ 70/1 หมู่ 4
ตำบลบ้านเลือก
อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี) เมื่อเริ่มก่อตั้งชื่อ
“ โรงเรียนศรียานนท์วิทยา “
ซึ่งเปิดทำการสอนแบบสหศึกษา
ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีนายสมศักดิ์ สมบูรณ์ทรัพย์ เป็นผู้ก่อตั้งและรับหน้าที่เป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ โดยมีขุนปานนท์ศึกษากร ( อดีตศึกษาธิการอำเภอบางแพ
) เป็นครูใหญ่คนแรก
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งครั้งแรก มุ่งหวังเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนและยากจนในชนบท
เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาและแบ่งเบาภาระในการจัดการศึกษาจากทางรัฐบาล โดยมีนโยบายรับนักเรียนที่ขาดแคลนและยากจน
ขาดผู้อุปการะเข้าเรียนโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน อันเป็นวิทยาทานจากผู้ก่อตั้ง โดยมีคำขวัญของโรงเรียนที่ว่า “นักเรียนผู้ใดขาดแคลนยากจน ขาดที่พึ่งพิงและผู้อุปการะเอาสมศักดิ์ สมบูรณ์ทรัพย์
เป็นที่พึ่งได้” โดยเปิดรับนักเรียนประจำและไปกลับ
ครั้นต่อมาเมื่อ จอมพล
ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ได้หมดวาระในการบริหารประเทศลง รวมทั้งการได้รับมรสุมต่าง ๆ จากด้านการเมืองหลายด้าน ในปีการศึกษา
2505 จึงได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก “ศรียานนท์” มาเป็น “สมศักดิ์วิทยา” และได้ขยายชั้นเรียนในระดับอนุบาลและประถมศึกษา โดยเปิดทำการสอน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีนางพวงรัตน์ สมบูรณ์ทรัพย์ เป็นผู้จัดการ
และนายอำไพ รัตนะรัต เป็นครูใหญ่
ในปีการศึกษา 2524
ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินกิจการของโรงเรียนเพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์ในยุคนั้น โดยมีการปรับปรุงแนวนโยบายของโรงเรียนใหม่ให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียน และยึดหลักการบริหารตามปรัชญาของโรงเรียน “การศึกษาเปรียบดังดวงประทีปแห่งชีวิต” และคำขวัญของโรงเรียนที่ว่า “
มุ่งมั่นการศึกษา พัฒนาจิตใจ มีระเบียบวินัย พลานามัยสมบูรณ์ ” มีสีประจำโรงเรียน คือ “ชมพู-เหลือง” ซึ่งเป็นสีชมพูของดอก “ธรรมบูชา” และสีเหลืองของดอกไม้ “ราชพฤกษ์” โดยทำการสอนนักเรียนแบบไป-กลับตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1
ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีนายนายพงศธร สมบูรณ์ทรัพย์ เป็นผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการและ ทำหน้าที่เป็น ครูใหญ่
โรงเรียนมีการพัฒนาการด้านต่างๆมาตามลำดับทั้งด้านจำนวนผู้เรียน จำนวนครู
อาคารสถานที่
สภาพภูมิทัศน์และคุณภาพมาตรฐานการศึกษาที่ได้รับการยอมรับจากชุมชนและได้รับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 – ปัจจุบัน
ความคิดเห็น